บทที่2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาครั้งนี้
ผู้ศึกษาได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
โดยแบ่งเนื้อหาของเอกสารงานวิจัยออกเป็นหัวข้อต่างๆ ดังนี้
1.ความเป็นมาและความสำคัญของสบู่
2.ชนิดและประเภทของสบู่
3.ลักษณะของสบู่ที่ดี
4.สรรพคุณสบู่ผลไม้
5.วิธีการทำสบู่ผลไม้
1.ความเป็นมาและความสำคัญของสบู่
สบู่
เป็นเครื่องสำอางชนิดหนึ่งที่ใช้ในการทำความสะอาดร่างกาย เดิมใช้เพื่อทำ
ความสะอาดร่างกายเท่านั้น ปัจจุบันกระบวนการผลิตสบู่มีการเพิ่มส่วนผสมอื่นๆ
เพื่อให้สบู่มีสรรพคุณตรงตามความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น
เช่นมีสีสันที่สวยงามน่าใช้ มีกลิ่นหอม และมีสรรพคุณทางยา ในทางการค้า
มีการใช้สารสังเคราะห์เพิ่มขึ้นทำให้ผลิตภัณฑ์
น่าใช้บรรจุภัณฑ์สวยงามแต่แฝงไปด้วยสารเคมีที่เป็นอันตราย มีพิษตกค้างและราคาสูง
“กินร้อน ช้อนกลาง
ล้างมือ” เพื่อช่วยป้องกันโรค การล้างมือมีความสำคัญมาก
สามารถป้องกันโรคหลายชนิด สบู่จึงมีความจำเป็นใช้ในชีวิตประจำวัน
ใช้ทำความสะอาดส่วนต่างๆของร่างกาย และขจัดสิ่งสกปรก ที่ทุกคนต้องใช้
คณะผู้จัดทำจึงสนใจที่จะนำสมุนไพรธรรมชาติ ใช่สมุนไพรที่สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น
มาใช้ในการทำสบู่สมุนไพรเปลี่ยนกลิ่น
ปัจจุบันนิยมใช้
พืชสมุนไพรและผลไม้ ที่มีอยู่ในธรรมชาติมาเป็นส่วนผสมเพิ่มเติม ในสบู่แทนการใช้
สารเคมีสังเคราะห์ พืชสมุนไพรและผลไม้ที่ใช้มีสารสำคัญและมีสรรพคุณทางยา เช่น
มีน้ำมันหอมระเหย สารสกัดจากผลไม้ ที่มีกลิ่นเฉพาะใช้ในการบำบัดโรค มีสีสันสวยงาม
หาง่าย ราคาถูก ประหยัด ปลอดภัย
ไร้สารสังเคราะห์ และไม่มีพิษตกค้าง ทำให้สบู่ผลไม้ที่ผลิตขึ้นจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติมีคุณลักษณเฉพาะที่หลากหลายจึงเป็นบทพิสูจน์ให้เห็นถึงความมหัศจรรย์ของสบู่ผลไม้ที่มีคุณค่ายิ่งของภูมิปัญญาไทย
2.ชนิดและประเภทของสบู่
2.1
ชนิดของสบู่
1. สบู่ก้อนขุ่น
เป็นผลิตภัณฑ์สบู่ที่รู้จักและใช้กันมานานจนถึงปัจจุบัน
มีลักษณะเป็นก้อนแข็งสีขาวขุ่นหรือมีสีต่างๆ ตามสีของสารเติมแต่ง เช่น สีเขียว
สีชมพู สีม่วง เป็นต้น สบู่ชนิดนี้ใช้สารตั้งต้น คือ เกล็ดสบู่ (soap)
ที่ผลิตได้จากปฏิกิริยาข้างต้นเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิต
ที่ให้คุณสมบัติเป็นก้อนแข็ง ขาวขุ่น ให้ฟองมาก
2. สบู่ก้อนใส
เป็นผลิตภัณฑ์สบู่ที่มีลักษณะก้อนใสหรือค่อนข้างใสตามสัดส่วนของกลีเซอรีนที่ผสม
ก้อนสบู่จะมีลักษณะอ่อนกว่าสบู่ก้อนขุ่น
และสามารถทำให้เกิดสีใสต่างๆตามสารให้สีที่เติมผสม
สบู่ชนิดนี้จะให้ฟองค่อนข้างน้อยกว่าสบู่ก้อนขุ่น เนื่องจากมีส่วนผสมของกลีเซอรีนเป็นส่วนใหญ่
สารตั้งต้นที่ใช้อาจเป็นกลีเซอรีนเหลวหรือกลีเซอรีนก้อน
(กลีเซอรีนเหลว+เอทิลแอลกอฮอล์) ร่วมด้วยกับสารเติมแต่งชนิดต่างๆ
3. สบู่เหลว
เป็นผลิตภัณฑ์สบู่ที่มีน้ำเป็นส่วนผสมทำให้เนื้อสบู่เหลว
สีสีสันต่างๆตามสารเติมแต่ง สบู่ชนิดนี้ใช้สารตั้งต้นจากเกล็ดสบู่ (soap)
ที่ได้จากปฏิกิริยาข้างต้นเหมือนชนิดสบู่ก้อนขุ่น
แต่ต่างกันที่จะใช้ด่างเข้มข้นโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์แทนโซเดียมไฮดรอกไซด์
เพราะจะให้เนื้อสบู่อ่อนตัวดีกว่า
2.2
ประเภทของสบู่มีดังนี้
1.
สบู่ที่ใช้ในครัวเรือน เราสามารถแบ่งได้เป็น
- น้ำยาทำความสะอาด
มักจะทำขึ้นจากสิ่งที่มีความอ่อนโยน และส่วนใหญ่ก็จะทำเพื่อขจัดคราบน้ำมันฝังแน่น
คราบสกปรกที่ยากต่อการขจัด น้ำยาทำความสะอาดก็จะมีหลายๆ แบบที่แตกต่างกัน
เพื่อตอบสนองการใช้งาน
- น้ำยาล้างจาน
ผลิตขึ้นเพื่อทำความสะอาดคราบไขมันที่ล้างออกยาก โดยการทำงานก็คือจะเปลี่ยนเป็นฟองขจัดคราบ
น้ำยาล้างจานมี 2 ประเภท คือ น้ำยาล้างจานสำหรับเครื่องล้างจาน
และน้ำยาล้างจานสำหรับการล้างด้วยมือ
2.สบู่สำหรับซักเสื้อผ้า
ผลิตขึ้นเพื่อซักล้างคราบสกปรกที่ติดอยู่ตามเสื้อผ้า โดยจะมีทั้งแบบเป็นผงและของเหลว
3.สบู่สำหรับทำความสะอาด
สบู่ทำความสะอาดมีหลากหลายสูตรขึ้นอยู่กับการใช้ทำความสะอาด
ความแตกต่างระหว่างน้ำยาทำความสะอาดและสบู่สำหรับทำความสะอาดคือ
สบู่ทำความสะอาดจะไม่มีฤทธิ์
ชะล้างที่รุนแรง
4.สบู่ทำความสะอาดร่างกาย
สบู่ชนิดนี้เป็นสูตรพิเศษที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้ทำความสะอาดร่างกายมนุษย์
เพื่อสุขอนามัยต่อต้านเชื้อแบคทีเรียและป้องกันไม่ให้เชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสแพร่กระจาย
นอกจากสบู่สำหรับทำความสะอาดร่างกายแล้วยังมีสบู่สำหรับทำความสะอาดเส้นผมที่มีการผสมผสานของส่วนผสมที่สามารถทำความสะอาดได้ทั้งร่างกายและเส้นผม
5.
สบู่สำหรับเด็กแรกเกิด เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นมาสำหรับเด็กโดยเฉพาะ
เนื่องจากจะมีความอ่อนโยนต่อผิวของเด็ก โดยจะผลิตออกมาในรูปทรงต่างๆ เช่น
สบู่รูปเป็ด หรือสบู่ที่มีเชือกร้อย ซึ่งไม่เพียงแต่ทำความสะอาดสิ่งสกปรกเท่านั้น
ยังทำเพื่อความสนุกและความเพื่อเพลิดเพลินอีกด้วย
6. สบู่หอม เป็นสบู่ที่เพิ่มน้ำหอมเข้าไปในขั้นตอนการผลิตด้วย
7.สบู่สำหรับบริการแขกตามห้องพัก
เป็นสบู่ที่ผลิตขึ้นเพื่อในงานในสถานที่บริการห้องพัก
ซึ่งจะผลิตออกมาเป็นชิ้นเล็กๆ โดยรูปทรงที่นิยมใช้ก็จะเป็นรูปทรงเปลือกหอย
และรูปทรงดอกไม้
8. สบู่เพื่อความงาม
เป็นสบู่ที่ผลิตขึ้นมาจากส่วนผสมหลากหลายและเพิ่มเติมกลิ่นหอมเข้าไป
โดยสบู่ชนิดนี้จะมีคุณสมบัติในการบำรุงและดูแลผิวพรรณ
เนื่องจากจะผสมกลีเซอรีนหรือน้ำมันชนิดพิเศษเข้าไป
9. สบู่ยา มีความคล้ายคลึงกับสบู่ในยุคแรกๆมาก
และสบู่ยาจะมีความแตกต่างจากสบู่ทั่วๆไป เนื่องจากจะมีส่วนผสม
10. สบู่กลีเซอรีน
กลีเซอรีนเป็นส่วนที่ใช้ในการทำสบู่
โดยสบู่ที่ผสมกลีเซอรีนจะช่วยทำให้ผิวของผู้ใช้มีความนุ่มชุ่มชื่น
11.สบู่ใส สบู่ชนิดนี้มีส่วนผสมที่แตกต่างจากการทำสบู่แบบอื่นๆเล็กน้อยและส่วนใหญ่จะผสมแอลกอฮอล์เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการบางอย่างที่อยู่ในกระบวนการผลิต
และสบู่ใสที่เราพบเห็น ก็ไม่ได้มีส่วนผสมของกลีเซอรีนเหมือนกันทั้งหมด
12.สบู่เหลว เป็นสบู่ที่มีวิธีการผลิตที่ซับซ้อนและค่อนข้างยาก
และสบู่เหลวที่จำหน่ายอยู่ในท้องตลาดส่วนใหญ่ก็ถือว่าเป็นผงซักฟอกชนิดหนึ่งเช่นกัน
3.
ลักษณะของสบู่ที่ดี
1. มีความสามารถทำความสะอาดได้ดี
2. มีฟองในระดับที่เหมาะสม
3. มีความเป็นด่างน้อยในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อผิวหรือทำลายชั้นไขมันของผิว
4. สบู่ก้อนไม่มีเนื้อเหลว
แตกหักง่าย
5. ไม่มีกลิ่นหืน
มีกลิ่นหอมน่าใช้ และมีคุณสมบัติเฉพาะในบางกรณี เช่น สบู่ฆ่าเชื้อ
เอกสารอ้างอิง http://www.siamchemi.com/สบู่/
4.ประโยชน์ของสบู่สมุนไพรและผลไม้
1.สบู่ มะเขือเทศ สมานผิว ลดรอยเหี่ยวย่น จุดด่างดำ
2.สบู่ กล้วย
บำรุงผิวนุ่มเนียนอ่อนวัย
3.สบู่ มะขาม
บำรุงผิวหน้าขาวเนียน ลดรอยฝ้าจุดด่างดำ ชำระล้างสิ่งสกปรก
4. สบู่ มะนาว
ลดสีเข้มของกระบนใบหน้า
5.สบู่ มังคุด
รักษาสิวหัวดำ ป้องกันรูขุมขนอุดตัน ทำความสะอาดผิวหน้า
6.สบู่ สับปะรด
บำรุงผิวหน้าขาวใส และช่วยขจัดเซลล์ตายให้หลุดลอก
7.สบู่ แตงโม
บำรุงผิวหน้าชุ่มชื่นสดใส
8.สบู่ น้ำผึ้ง
ช่วยสมานผิว
9.สบู่ มะเฟือง
ลดความมัน ช่วยขาว ใส
10.สบู่ มะละกอ
ลดความมัน ช่วยขาว ใส
11.สบู่ ว่านหางจระเข้
บำรุงผิว ป้องกันฝ้า ลบรอยจุดด่างดำ รักษาสิว
12.สบู่ แอปเปิ้ลเขียว บำรุงผิว
ลดความมัน สาเหตุการเกิดสิว
13.สบู่ ส้ม ลดความมัน
ไม่ทำให้ผิวแห้ง
14.สบู่ กีวี
บำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใสลดจุดด่างดำใต้ผิว แก้ปัญหาผิวหมองคล้ำ
15.สบู่ สตรอเบอร์รี่
ชะลอการเกิดริ้วรอย บำรุงผิว
16.สบู่
ทับทิมบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใสต่อต้านอนุมูลอิสระชะลอวัยช่วยให้ผิวหน้าเต่งตึง
5.วิธีการทำสบู่ผลไม้
1.หั่นหัวสบู่เป็นชิ้นเล็กๆ
แล้วนำไปตุ๋น นำหัวสบู่กลีเซอลีนขนาด 1 kg
นำมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆแล้วใส่ลงในภาชนะสแตนเลส
แล้วนำไปตุ๋นให้ละลายเป็นเนื้อเดียวกัน (ระวังอย่าเดือดมากเกินไป)
2.เมื่อหัวสบู่ละลายเป็นเนื้อเดียวกันแล้ว
นำลงมาเติมสารสกัดต่างๆ เช่น วิตามินอี น้ำผึ้ง สมุนไพร คนให้เข้ากัน (ข้อควรระวัง อย่าให้หัวสบู่ร้อนเกินไปเพราะอาจทำให้คุณของสารสกัดต่างๆ
ที่ใส่ลงไปนั้นด้อยคุณค่า) เติมสารสกัดสี สมุนไพรต่างๆ
ลงไปตามชอบเติมหัวน้ำหอมท้ายสุด (เลือกกลิ่นให้เหมาะสมกับสารที่เราเติมไป)
3.เมื่อผสมให้เข้ากันแล้วนำมาเทใส่พิมพ์ก่อนที่สบู่จะแข็งตัวถ้าต้องการใส่ใยบวบ
ก็เทสบู่ลงไปเล็กน้อย แล้วปล่อยให้เซ็ตตัวสักนิด
แล้วค่อยเติมสบู่ลงไปให้เต็มก้อน
4.เมื่อเทสบู่ใส่พิมพ์จนเต็มแล้วฉีดด้วยแอลกอฮอล์
95% เพื่อไล่ฟองอากาศออกจากสบู่
การฉีดแอลกอฮอล์จะทำให้ได้สบู่เนื้อเรียบ ไม่มีฟองอากาศข้างใน
5.แล้วปล่อยทิ้งไว้
1-2 ชั่วโมง ให้เนื้อสบู่เซ็ตตัวแล้วจึงแกะออกจากแม่พิมพ์
ก่อนแกะสบู่ให้ล้างมือให้สะอาดและเตรียมภาชนะที่สะอาดสำหรับใส่สบู่ที่ได้ด้วย
6.เสร็จการทำสบู่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น